วิวิธภาษาม.2เรื่องพอใจให้สุข
ในบทที่9พอใจให้สุข
พอใจให้สุข
แม้มิได้เป็นดอกกุหลาบหอม ก็จงยอมเพียงลดาขาว
แม้มิได้เป็นจันทร์อันสกาว จงเป็นดาวดวงแจ่มแอร่มตา
แม้มิได้เป็นหงส์ทะนงศักดิ์ ก็จงรักเป็นโนรีที่หรรษา
แม้มิได้เป็นแม่น้ำแม่คงคา จงเป็นธาราใสที่ไหลเย็น
แม้มิได้เป็นมหาหิมาลัย จงพอใจจอมปลวกที่แลเห็น
แม้มิได้เป็นวันพระจันทร์เพ็ญ ก็จงเป็นวันแรมที่แจ่มจาง
แม้มิได้เป็นต้นสนระหง จงเป็นพงอ้อสะบัดไม่ขัดขวาง
แม้มิได้เป็นนุชสุดสะอาง จงเป็นนางที่ไม่ใช้ไร้ความดี
อันจะเป็นสิ่งใดไม่ประหลาด กำเนิดชาติดีทรามตามวิธี
ถือสันโดษบำเพ็ญให้เด่นดี ในสิ่งที่เราเป็นเช่นนั้นเทอญ
ข้อคิดจากเรื่อง
พอใจให้สุข เป็นชื่อบทกลอนที่ศาสตราจารย์กิตติคุณฐะปะนีย์ นาครทรรพ
ประพันธ์ขึ้นพ.ศ.2428เมื่อมีอายุ18ปีเป็นกลอนสุภาพที่มีความยาว5บทเนื้อความเป็นคำสอน
ผู้หญิงให้มีความพอใจกับความเป็นกันเองตามกำเนิดและตามสภาพที่ตนเป็นแต่ที่สำคัญคือ
ต้องปฏิบัติตนเป็นคนเด่นในความ
พอใจให้สุข มีความหมายชัดเจนว่าความพอใจกับกำเนิดและฐานะของ
ตนนั้นทำให้คนเป็นสุข หากพิจารณาให้ชัดเจนว่าจุดมุ้งหมายของผู้ประพันธ์มิได้ให้พอใจ
กับสภาพที่ดำรงอยู่ตลอดไปเท่านั้น เพราะคำเปรียบที่ยกขึ้นในแต่ละวรรคให้ข้อคิดแก่ผู้อ่าน
ว่า ให้ตั้งใจพัฒนาตน ม่ชุ่งมั้น ไปสู่สิ่งที่สูงที่มีค่าหรือ ที่ยิ่งใหญ่กว่าที่เป็นอยู่ แต่ถ้าแม้ว่าเป็นไม่ได้ก็จงพอใจเท่าที่เราเป็นได้ และที่เราควรเป็นมากที่สุดคือ ผู้มีความดี และบำเพ็ญตน
ให้เด่นในความดี
ความรู้เรื่องกลอน
เชื่อกันว่า กลอน เป็นคำประพันธ์ที่คนไทยมีมาแต่เดิม ชาวบ้านในภาคกลางและภาคใต้นิยมแต่งกลอนเป็นบทร้องเล่น บทกล่อมเด็ก และเพลงพื้นบ้านต่างๆ กลอนมีพัฒนาการมาเป็นลำดับจนมีข้อบังคับทางฉันลักษณ์ที่แน่นอนในปัจจุบัน เป็นคำประพันธ์ ที่บังคับจำนวนคำ จำนวนวรรค สัมผัส และเสียงวรรณยุกต์ กลอนมีประเภทย่อยซึ่งมีชื่อต่างกันไปตามลักษณะย่อย ช่น กลอนแปด กลอนหก กลอนสี่ กลอนสักวา กลอนดอกสร้อย กลอนบทละคร เป็นต็น บทกลอนเรื่อง พอใจให้สุข เป็นคำประพันธ์ประเภทกลอนแปด
ลักษณะต่างๆของกลอน
๑) บทและบาท
กลอน ๑ บท มี ๒ บรรทัด แต่ละบรรทัดเรียกว่า บาท หรือ คำกลอน บาทที่๑ของกลอน เรียกว่า บาทเอก ส่วนบาทที่สองเรียกว่าบาทโท กลอนบาทหนึ่งมี ๒ วรรค
กลอนบทหนึ่งจึงมี ๔วรรค
แม้มิได้เป็นดอกกุหลาบหอม ก็จงยอมเป็นเพียงลดดาขาว (บาทเอก)
แม้มิได้เป็นจันทร์อันสกาว จงเป็นดาวดวงแจ่มแอน่มตา (บาทโท)
๒)จำนวนวรรค
กลอน ๑บท มี ๔วรรค แต่ละวรรคมีชื่อดังนี้วรรคที่๑เรียกว่า วรรคสดับ วรรคที่๒เรียกว่วรรคับ
วรรคที่๓เรียกว่า วรรครอง วรรคที่๔เรียกว่าวรรคส่ง
เช่น
แม้มิได้เป็นหงส์ทะนงสักดิ์(วรรคสดับ) ก็จงรักเป็นดนรีที่หรรษา(วรรครับ)
แม้ไม่ได้เป็นแม่น้ำคงคา(วรรครอง) จงเป็นธาราที่ไหลเย็น (วรรคส่ง)
๓)จำนวนคำและจังหวะการอ่าน
คำว่า คำ ในกลอนมีความหมายเฉพาะ หมายถึง จำนวนพยางค์ในแต่ละวรรคเช่นกลอนหกคือกลอนที่กำหนดให้วรรค๑มี๖คำหรือหกพยางค์กลอนแปด คือ กลอนที่กำหนดให้วรรคหนึ่งมี๘คำหรือแปดพยางค์ในกลอนบทละคร คำ ยังมีอีกความหมายหนึ่ง หมายถึงบาทหรือคำกลอน
๔)สัมผัส
คำว่าสัมผัส ในคำประพันธ์หมายถึงคำ๒คำ(หรือ๒พยางค์)ที่มีเสียงสระเสียงเดียวกัน ตา- หรรษา หิมาลัย-พอใจ วิถี-เด่นดี-ที่ หรือคำ๒คำที่ประสบกับเสียงสระและเสียงสะกดแม่เดียวกัน เช่น หอม-ยอม ขาว-สกาว-ดาว แจ่ม-แอร่ม ศักดิ์-รัก ขัดขวาง-สะอาง สัมผัสแบบนี้เรยกว่า สัมผสสระ
ในคำประพันธ์มีสัมผัสอีกแบบหนึ่งเรียกว่า สัมผัสพยัญชนะ หมายถึงคำ2 คำหรือหลายคำที่มีเสียงพยัญชณะต้นเป็นเสียงเดียวกัน เป็นลักษณะที่กวีมักใช้เพื่อเพิ่มความไพเราะให้แก่บทกลอน ไม่ใช้สัมผัสบังคับ สัมผัสพยัญชณะอาจปรากฏในวรรคเดียวกันหรือต่างบทก็ได้ เช่นลางลิงลิงลอดเลี้ยวลางลิงแลลูกลิงชิงลูกไม้
สัมผัสในบทกลอนมีทั้งสัมผัสบังคับและสัมผัสไม่บังคับ
สัมผัสบังคับมี๒ประเภทคือสัมผัสนอก กับสัมผัสระหว่างบท
สัมผัสนอกคือสัมผัสสระของคำที่อยู่ต่างวรรคกัน กลอนบทหนึ่งๆมีสัมผัสนอกบังคับ๓แห่งคือ
แห่งที่๑คำสุดท้ายของววรรคสดับ(วรรคที่๑)สัมผัสกับท้ายของช่วงที่๑หรือ๒ในวรรครับ(วรรคที่๒)
แห่งที่๒คำสุดท้ายของวรรครับ(วรรคที่๒) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรครอง (วรรคที่๓)แล้วส่งต่อไปวรรคที่๓
สัมผัสระหว่างบท คือ สัมผัสสระที่ส่งต่อจากคำสุดท้ายของบทไปยังคำสุดท้ายในวรรครับ (วรรคที่๒) ขิองบทถัดไป ชึ้งสัมผัสที่ทำให้กลอนเชื่อมต่อกันโดยตลอด
สัมผัสไม่บังคับ คือ สัมผัสสระหรือสัมผัสพยัญชณะที่อยู่ในแต่ละวรรคเพื่อเพิ่มความไพเราะให้แก่บทกลอน
๕)ข้อควรระหว่างในการแต่งกลอน
ก.เสียงวรรณยุตย์
ฉันทลักษณ์กลอนไม่มีขอกำหนดเรื่องวรรณยุกต์ แต่มีข้อสังเกตว่า หากมีขอกำหนดคำที่มีเสียงวรรณ์ยุกค์ได้ตามที่แนะนำนี้ กลอนจะไฟชพเราะ หากใช้เสียงที่ไม่แนะนำ กลอนจะฟังประหลาดแลไม่เป็นกลอน ดังนี้
คำท้ายวรรคที่๑ ใช้เสียงวรรณยุตย์ใดก็ได้
คำท้ายวรรคที่๒ ใช้เสียงวรรณยูตย์เอก โท หรือจัตวาไม่ใช้เสียงวรรณยุตญ์เอกโทหรือจัตวาและไม่ใช้ เสียงวรรณยุกต์ช้ำกับเสียงวรรณยุกย์สามัญหรือเสียงตรี
คำท้ายวรรคที่๓ใช้เสียงวรรณยุกต์หรือตรีไม่ใช้เสียงวรรณยุกต์เอก โท หรือจัตวา และ ไม้ใช้เสียงวรรณยุกต์ช้ำกับเสียงวรรณยุกต์ของคำท้ายวรรคที่๒
คำท้ายวรรคที่๔ใช้เสียงวรรณยุกต์สามัญหรือตรีไม่ใช้เสียงวรรณยุกต์เอก โท หรือจัตวา
ข.สัมผัส
๑สัมผัสช้ำเสียงคือรับและสัมผัสด้วยคำที่ออกเสียงเหมือนกัน
๒สัมผัสเลือน คือ รับและส่งด้วยเสียงสระสั้นยาวต่างกัน
๓ชิงสัมผัส คือ ใช้เสียงส่งสัมผัสก่อนต่ำแหน่งที่รับสัมผัสจริง
ตัวอย่างเช่น แต่งคำกลอนว่า
แต่งคำกลอนบอกแจ้งความในใจ ที่มีไว้เพื่อให้เธอเล็งเห็น
แม้จะเขียนให้อ่านแล่นก็อยากเย็น พี่ไม่เว้นพารเพียรเขียนเพื่อเธอ
คำที่ส่งสัมผัสในวรรคที่๑ คือใจส่งไปให้รับสัมผัสกับคำที่๕ในวรรคที่๒ คือ ให้แต่มีคำว่าไว้ มาชิงสัมผัสก่อน
และคำส่งสัมผัสในวรรคที่๒ ว่าเห็นส่งสัมผัสไปคำสุดท้าย วรคที่๓คือ เย็ฯ แต่มีคำว่าเล่น มาชิงสัมผัสก่อน ทำให้กลอนไม่เป็นกลอนควรแก้เป็น
แต่งคำกลอนบอกความในใจ ที่ร้อนรุ่มเพื่อให้เธอเล็กเห็น
แม้จะเขียนลำบากแสนอยากเย็น พี่ไม่เว้นพากเพียรเขียนเพื่อเธอ
กลอนประเภทต่างๆ
๑กลอนเเปด
กลอนแปด อาจเรียกว่า กลอนสุภาพ หรือกลอนตลาดก็ได้ ถ้าแต่งเป็นเรื่องนิทานเพื่ออ่านเล่น ก็เรียกว่ากลอนนิทาน เช่นเรื่องโคบุตร พระอภัยมณี
นิราศบาทขึ้นต้นว่า
โอ้อาลัยใจหายเป็นห่วงหวง
ดังศรศักดิ์ปักซ้ำระกำทรวง
เสียดายดวงจันทราพะงางาม
เจ้าคุมแค้นแสนโกรธพิโรธพี่
แต่เดือนยี่จนย่างเข้าเดือนสาม
จนพระหน่อสุริย์วงศ์ทรงพระนาม
จากอารามแรมร้างทางกันดาร
ด้วยเรียมรองมุลิกาเป็นข้าบาท
จำนิราศร้างนุชสุดสงสาร
ตามเสด็จเสร็จโดยแดนกันดาร
นมัสการรอยบาทพระศาสดา ๚
สุภาษิตสอนหญิง ขึ้นต้นว่า
ประนมหัตถ์นมัสการขึ้นเหนือเศียร
ต่างประเทียบโกสุมประทุมเทียน จำนงเนียนนบบาทพระศาสดา
กลอนเพลงยาวขึ้นต้นว่า
เสียแรงหวังใจมุ่งผดุงหวัง
ไม่ควรชังฤามารานพานชิงชัง เออเป็นใจเออใครมั่งไม่น้อยใจ
๒กลอนหก
กลอนหกคือกลอนที่แต่งแต่ละวรรคมีจำนวน๖คำหรือ๖พยางค์
ความดีมีอยู่คู่ชั่ว ติดตัวกลั้วอิงอาศัย
ทำดีดีช่วยอวยชัย ทำชั่วชั่วให้ใจตรม
ผลดีนี้นำความสุข ผลชั่วกลั้วทุกข์ทับถม
ดีเด่นเห็นผลชนชม ชั่วช้าพาจมตรมตรอม
กำชัย ทองหล่อ
๓กลอนสี่
กลอนสี่
คือกลอนที่มีวรรค๔คำจังหวะช่วงละ๒คำ สัมผัส อนุโลมตามแบบกลอนแปด เช่น
วันว่างห่างงาน รำคาญยิ่งนัก
อยู่บ้านผ่อนพัก สักนิดผ่อนคลาย
๐ หยิบหนังสืออ่าน ผ่านตาดีหลาย
กลอนสี่ท้าทาย หมายลองเขียนดู
๐ หากท่านใดว่าง ร่วมทางฝึกรู้
กลอนได้เชิดชู อยู่อย่างมั่นคง
๐ เสียงไม่บังคับ จับสัมผัสส่ง
สี่คำเจาะจง ลงมือกันเลย.
๔กลอนสักวา
กลอนสักวาคือกลอนที่ใช้ในการเล่นสักวา ชึ่งเป็นการแต่งกลอนสดแล้วร้องเป็นเพลงโต้ตอบหรือต่อเนื่องกันเรื่องตามที่ได้ตกลงกัน เช่นการเล่นสักวาเรื่องสังข์ทอง ตนมณทาลงกระท่อมต้องมีผู้แต่งกลอนเป็นบทท้าวสามนต์ เป็น
กลอนสักวา 1 บทมี 4 คำกลอนหรือ 4 วรรค วรรคแรกหรือวรรคขึ้นจะต้องขึ้นต้นบทด้วยคำว่า " สักวา " และวรรคสุดท้ายหรือวรรคส่งจะต้องลงท้ายด้วยคำว่าเอย ส่วนวรรคที่ 2-3 คือวรรครับและวรรครองนั้น ไม่บังคับตัวอักษร แต่ต้องมีสัมผัสระหว่างวรรคทั้ง 4 อย่างลัษณะของกลอนทั่วไป
สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน
ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพะยอม
อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม
แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม
ดังดูดดื่มบอระเพ็ดต้องเข็ดขม
ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์
ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย
๑.กลอนดอกสร้อยบทหนึ่งมี
๔ คำกลอน หรือ ๘ วรรค
วรรคหนึ่งใช้คำ ๖-๘ คำ๒. วรรคแรกที่ขึ้นต้น
โดยมากมี ๔ คำ คำที่ ๑
กับคำที่ ๓ ต้องซ้ำคำเดียว
กัน คำที่ ๒ ค้องเป็นคำว่า
" เอ๋ย" ส่วนคำที่ ๔ เป็น
คำอื่นที่รับกัน เช่น
นักเอ๋ยนักเรียน
เด็กเอ๋ยเด็กน้อย
๓.กลอนดอกสร้อยจะต้อง
ลงท้ายด้วยคำว่า"เอย"เสมอ
แต่ถ้าเป็นกลอนดอกสร้อย
ในบทละครไม่ต้องลงท้าย
ด้วยคำว่าเอย
๔.สัมผัสและลักษณะไพเราะ
อื่นๆเหมือนกลอนสุภาพ
ความรู้
ความเอ๋ญความรู้
ทุกอย่างอาจเป็นครูหากศึกษา
เห็นสิ่งใดใช้สมองลองปัญญา
ใคร่ครวญหาเหตุผลจนแจ้งใจ
อันความรู้เรียนเท่าไหร่ก็ไม่จบ
ยิ่งค้นพบก็ยิ่งมีที่สงสัย
ใช้ความรู้ผิดทางสร้างทุกข์ภัย
รู้จักใช้ทำประโยชน์สุขโสตย์เอย
กลอนบทละคร
กลอนบทละคร คือคำกลอนที่แต่งขึ้นเพื่อแสดงละครรำ เช่น พระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง รามเกียรติ์, พระราชนิพนธ์ บทละครเรื่องอิเหนา เป็นต้น
กลอนบทละครมีลักษณะบังคับเช่นเดียวกับกลอนสุภาพ วรรคหนึ่งมี 6 ถึง 9 คำ แต่นิยมใช้เพียง 6 ถึง 7 คำจึงจะเข้าจังหวะร้องและรำทำให้ไพเราะยิ่งขึ้น กลอนบทละครมักจะขึ้นต้นว่า เมื่อนั้น สำหรับตัวละครที่เป็นกษัตริย์หรือผู้มีบรรดาศักดิ์สูง บัดนั้น สำหรับตัวละครที่เป็นเสนาหรือคนทั่วไป มาจะกล่าวบทไป ใช้สำหรับนำเรื่อง เกริ่นเรื่อง